สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงและห้องเพลงในดนตรีไทย

Responsive image

เกริ่นนำ

การเรียนดนตรีไทยในภาคปฏิบัตินั้น มีการเรียนรู้หลายรูปแบบ เช่น การเรียนเป็นครูพักลักจำ การเรียนตัวต่อตัวกับครูผู้สอน โดยในสมัยโบราณการเรียนดนตรีไทยจะเป็นการเรียนแบบมุขปาฐะ คือการร้องโน้ตเพลงโดยการท่องทำนองของบทเพลงนั้นๆ ให้แก่ผู้ที่เรียนและบรรเลงตามเสียงของครูที่กำลังเปล่งเสียงร้องโน้ตเพลงนั้นๆออกมา ในการเรียนสมัยโบราณต้องใช้เวลาในการเรียนอย่างยาวนานมาก ด้วยสื่อการเรียนการสอนที่ยังไม่ได้มีการคิดค้นออกมา และผลการเรียนซอด้วงและซออู้จะตกอยู่กับคนจำนวนน้อย และหาผู้บรรเลงให้เก่งได้อย่างรวดเร็วนั้นยากมาก ซึ่งได้แก่ศิษย์ของครูผู้นั้นเพียงไม่กี่คน การบรรเลงดนตรีไทยจึงยังไม่แพร่กระจายไปสู่คนจำนวนมากในสังคมไทย

ก่อนที่จะลงมือเรียนภาคปฏิบัติเครื่องดนตรีอย่างจริงจังนั้น ผู้เขียนจะเน้นเรื่องการเรียนขิมเป็นหลัก ผู้เรียนต้องฝึกการอ่านโน้ตเพลงไทยให้เกิดความชำนาญเสียก่อน ลักษณะของตัวโน้ตที่จะอธิบายต่อไปนี้จะขอนำโน้ตที่ใช้เป็นตัวอักษรในการแทนเสียง มายกตัวอย่างให้ดูเพราะโน้ตตัวอักษรเป็นที่นิยมใช้กันมากในกลุ่มนักดนตรีไทย และยังสามารถนำมาใช้กับการบันทึกโน้ตเพลงสำหรับขิมได้อีกด้วย ในการเรียนอ่านโน้ตเพลงที่ใช้ตัวอักษรแทนเสียง จะอธิบายความเข้าใจเพียง 2 หัวข้อดังนี้

1. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียง
2. ห้องเพลง


1. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียง
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงมีการใช้ตัวอักษรในการแทนเสียงโน้ตเพลงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ในการศึกษาดนตรีไทยทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตีและเครื่องเป่า ในการเรียนดนตรีไทยมีการแบ่งระยะห่างของเสียงแต่ละเสียงเป็น 7 เสียงเท่าๆกันตลอดบันไดเสียง คือ

ใช้แทนเสียง โด

ใช้แทนเสียง เร

ใช้แทนเสียง มี

ใช้แทนเสียง ฟา

ใช้แทนเสียง ซอล

ใช้แทนเสียง ลา

ใช้แทนเสียง ที

2. ห้องเพลง



การแบ่งห้องเพลงของโน้ตดนตรีไทยในเครื่องมือขิมนั้น จะใช้ห้องเพลงโดยปกติที่ดนตรีไทยได้บันทึกเป็นโน้ต 3 บรรทัด แต่ละบรรทัดมีจำนวน 8 ห้องเพลง โดยห้องเพลงที่ใช้ในการบันทึกโน้ตขิมจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงจำนวน 8 ห้องเพลง แต่ละห้องเพลงมีความยาวเท่ากับ 1 จังหวะสามัญ โดยจังหวะสามัญคือจังหวะที่ผู้บรรเลงขิมกำหนดให้เป็นจังหวะตกในแต่ละห้องเพลง คือ

ตารางโน้ตเพลง 1 บรรทัด มี 8 ห้องเพลง



ห้องเพลงขิม


ตารางโน้ตขิม มี 3 บรรทัด แต่ละบรรทัดมีจำนวน 8 ห้องเพลง



ห้องเพลงขิม

แสดงเครื่องหมาย + ในจังหวะตกของห้องเพลงหรือเรียกว่าจังหวะสามัญ


การจับไม้ตีขิม

ความยาวของเสียง ซึ่งทำนองต่างๆมีความสั้นและยาว มีความหนักเบาของเสียงที่แตกต่างกันออกไป และมีค่าสูงและต่ำของเสียง ดังนั้นห้องเพลงทั้ง 8 ห้อง เป็นส่วนที่นำมาใช้ในการบันทึกทำนองของบทเพลงในการบรรเลงขิมต่อไป

โน้ตขิม

โน้ตขิมโดยเฉพาะ ได้มาตรฐาน

หากท่านสนใจโน้ตเพลงขิม สามารถคลิกชมและสอบถามได้ จัดส่งได้ทั่วประเทศครับ


ชมรายละเอียด โน้ตขิม >>